โครงสร้าง
รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ทช21001)
สาระสำคัญ
เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง
การดำรงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินชีวิตไปในทางสายกลางโดยเฉพาะ
การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อผลกระทบใด
ๆ
อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความ
ระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง
ๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน และ
ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีสำนึกในคุณธรรม
ความซื่อสัตย์สุจริตและให้
มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน
ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้
สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม
และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายแนวคิด หลักการ ความหมาย ความสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้
2. บอกแนวทางในการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ
3. เห็นคุณค่าและปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. แนะนำ ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวและชุมชนให้เห็นคุณค่าและนำไปปฏิบัติในการดำเนิน
ชีวิต
ขอบข่ายเนื้อหา
บทที่ 1 ความพอเพียง
เรื่องที่ 1 ความเป็นมา ความหมาย หลักการแนวคิดของหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง
เรื่องที่ 2 การแสวงหาความรู้
บทที่ 2 การประกอบอาชีพอย่างพอเพียง
เรื่องที่ 1 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่
ของตนเอง
ครอบครัว ชุมชน
เรื่องที่ 2 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการประกอบอาชีพ
บทที่ 3 การวางแผนประกอบอาชีพแบบพอเพียง
เรื่องที่ 1 การวางแผนการประกอบอาชีพ ตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
เรื่องที่ 2 โครงการและแผนงานประกอบอาชีพ ตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
บทที่ 4 เครือข่ายดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
เรื่องที่ 1 การส่งเสริม เผยแพร่ ขยายผลงานการปฏิบัติตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงของบุคคล
ชุมชน ที่ประสบผลสำเร็จ
เรื่องที่ 2 การสร้างเครือข่ายการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิต
ของเศรษฐกิจพอเพียง
เรื่องที่
3 กระบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง__
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น