การแสวงหาความรู้
การแสวงหาความรู้ของมนุษย์เกิดจากความต้องการของคนที่ต้องการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของ
ตนเองให้ดีขึ้น
จึงเป็นแรงกระตุ้นให้มีความอยากรู้ อยากเห็น อยากเข้าใจในปรากฎการณ์ธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม เพื่อให้รู้และเข้าใจถึงความจริงที่ควรเชื่อและยอมรับในความเป็นจริงของปรากฎการณ์ต่างๆ
เหล่านั้น
1. การแสวงหาความรู้จากประสบการณ์ (Experience) เป็นวิธีการแสวงหาความรู้ของแต่ละ
บุคคลจากการค้นพบด้วยตนเองหรือเกิดขึ้นโดยบังเอิญ (By Chance) เช่น การค้นพบความรู้ของชาร์ลส์
กูดเยียร์ (Charls
Goodyear) เกี่ยวกับยางพาราดิบเมื่อถูกความร้อนจะช่วยให้ยางนั้นแข็งตัว
และมีความ
ทนทานเพิ่มขึ้น
ซึ่งนำไปสู่การประดิษฐ์ยางรถยนต์ที่แพร่หลายในปัจจุบันนี้ หรือเกิดจากการลองผิด
ลองถูก (By Trial
and Error) เช่น ผู้เดินทางไปเที่ยวในป่าถูกแมลงกัดต่อยเกิดเป็นผื่นคัน
ไม่มียาทาจึงนำ
ใบไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งมาทาแล้วหาย
จึงเกิดการเรียนรู้ว่าใบไม้ชนิดนั้นสามารถนำมาใช้แก้ผื่นคันได้
2.
การแสวงหาความรู้จากผู้รู้ (Authority) เป็นการแสวงหาความรู้จากคำบอกเล่าของผู้รู้
ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้มีอำนาจหน้าที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป
เช่น นักปราชญ์ ผู้นำ นักบวช หรือการเรียนรู้จาก
ประเพณี วัฒนธรรมที่มีผู้รู้
หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ เป็นผู้บอกหรือถ่ายทอดความรู้โดยการ
เขียนหนังสือตำรา
หรือบอกโดยผ่านสื่ออื่นๆ
3. การแสวงหาความรู้โดยอาศัยเหตุผลจากการอนุมาน (Deductive Reasoning)
เป็นการ
แสวงหาความรู้จากความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จจริงย่อยแล้วนำมาสรุปเป็น
ความรู้
ข้อเท็จจริงใหญ่ : เป็นข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเป็นข้อเท็จจริงในวงกว้าง
ข้อเท็จจริงย่อย : เป็นเหตุเฉพาะกรณีใดๆ เป็นข้อเท็จจริงในวงแคบที่มีความสัมพันธ์กับ
ข้อเท็จจริงใหญ่
ข้อสรุป : เป็นข้อสรุปจากความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จจริงย่อย
ซึ่งกล่าวว่าการอนุมานคือการสรุปส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย
ตัวอย่างเหตุผลจากการอนุมาน
ข้อเท็จจริงใหญ่ : ลูกชายของลุงกำนันทุกคนเรียนเก่ง
ข้อเท็จจริงย่อย : พงไพรเป็นลูกชายคนที่สองของลุงกำนัน
ข้อสรุป : พงไพรเป็นคนที่เรียนเก่ง
4. การแสวงหาความรู้โดยอาศัยเหตุผลจากการอุปมาน (Inductive Reasoning)
เป็นวิธีแสวงหา
ความรู้ที่ย้อนกลับกับวิธีอนุมาน
เป็นการค้นหาความรู้จากข้อเท็จจริงย่อยๆ โดยพิจารณาจากสิ่งที่เหมือนกัน
ต่างกัน สัมพันธ์กัน
แล้วสรุปรวมเป็นข้อเท็จจริงใหญ่
ตัวอย่างเหตุผลจากการอุปมาน
ข้อเท็จจริงย่อย
:
คนที่เป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้าย แต่ละคนไม่สามารถรักษาให้หายได้ และ
จะต้องตายในที่สุด
ดังนั้น : กลุ่มคนที่เป็นโรงมะเร็งระยะสุดท้ายต้องตายทุกคน
5. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Approach) เป็นวิธีแสวงหาความรู้ของมนุษย์ที่ชาร์ลส์
ดาร์
วิน (Charles
Darwin) และจอห์น ดิวอี้ (John Dewey)ได้พัฒนาและนำแนวคิดเชิงย้อนกลับ
(Reflective
Thinking) และแนวคิดการแก้ปัญหา
(Problem Solving) มาเป็นพื้นฐานในการคิดเป็นกระบวนการศึกษา
ข้อเท็จจริงและความรู้ต่างๆ
โดยผ่านการสังเกต การดำเนินการตามแนวคิดทฤษฎีต่างๆ การทดสอบ
การค้นพบ การทบทวน
และการทำซ้ำ ผลิตความรู้ใหม่จากกระบวนการที่มีความสัมพันธ์กันและเกี่ยวข้อง
เป็นวัฏจักร โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
คือ การพิจารณาให้ใกล้ความจริงมากที่สุด โดยอาศัยการศึกษา
ข้อเท็จจริง ทฤษฎีและการทดสอบเครื่องมือ
ดังนั้นวิธีการวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นวิธีการที่มีหลักเกณฑ์และ
เหตุผลที่สามารถอธิบายได้มีลักษณะการศึกษาที่เป็นระบบ
ตรงไปตรงมาปราศจากความลำเอียงและ
สามารถพิสูจน์ได้
ประกอบด้วย
5 ขั้นตอนด้วยกัน ซึ่งเรียกว่าขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้
1. ขั้นปัญหา
(Problem) เป็นการระบุและกำหนดขอบเขตของปัญหาของสิ่งที่ต้องการศึกษา
ให้ชัดเจน
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน
(Hypotheses) เป็นการคาดเดาหรือคาดคะเนคำตอบของปัญหาไว้
ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
(Collecting data) เป็นการรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่
เกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่กำหนด
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
(Analysis) เป็นการจัดกระทำกับข้อมูลที่รวบรวม มาได้ โดยวิธีการ
ตรรกศาสตร์หรือวิธีการทางสถิติ
เพื่อตรวจสอบสมติฐานที่ตั้งไว้
5. ขั้นสรุปผล
(Conclusion) เป็นการสรุปจากการวิเคราะห์ข้อมูลว่าข้อเท็จจริงของปัญหาที่
แท้จริงนั้นคืออะไร
การแสวงหาความรู้
เป็นทักษะที่ต้องอาศัยการเรียนรู้และวิธีการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญทำให้เกิด
แนวความคิดความเข้าใจที่ถูกต้องและกว้างขวางยิ่งขึ้น
เนื่องจากผู้ที่แสวงหาความรู้จะเกิดทักษะใน
การค้นคว้าสิ่งที่ต้องการและสนใจอยากรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
จะทำให้ทราบข้อเท็จจริง และสามารถ
เปรียบเทียบข้อเท็จจริงที่ได้มาว่าควรเชื่อได้หรือไม่ทักษะในการสร้างปัญญาเพื่อนำไปสู่การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมี 10 ขั้นตอน ดังนี้ (พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ให้กับตนเอง,
2554 : ออนไลน์)
1. ทักษะการสังเกต คือ การสังเกตสิ่งที่เห็น สิ่งแวดล้อม หรือสิ่งที่ต้องการจะศึกษา
โดยสังเกต
เกี่ยวกับแหล่งที่มา
ความเหมือน ความแตกต่าง สาเหตุของความแตกต่าง ประโยชน์ และผลกระทบ วิธี
ฝึกการสังเกต คือ
การฝึกสมาธิ เพื่อให้มีสติ และทำให้เกิดปัญญา มีโลกทรรศน์ มีวิธีคิด
2. ทักษะการบันทึก คือ การบันทึกสิ่งที่ต้องจำหรือต้องศึกษา มีหลายวิธี ได้แก่
การทำสรุปย่อ
การเขียนเค้าโครงเรื่อง
การขีดเส้นใต้ การเขียนแผนภูมิ การทำเป็นแผนภาพ หรือ ทำเป็นตาราง เป็นต้น
วิธีฝึกการบันทึก
คือ การบันทึกทุกครั้งที่มีการสังเกต มีการฟัง หรือมีการอ่าน เป็นการพัฒนาปัญญา
3.ทักษะการนำเสนอ คือ การทำความเข้าใจในเรื่องที่จะนำเสนอให้ผู้อื่นรับรู้ได้
โดยจดจำในสิ่งที่
จะนำเสนอออกมาอย่างเป็นระบบ
ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การทำรายงานเป็นรูปเล่มการ
รายงานปากเปล่า
การรายงานด้วยเทคโนโลยี เป็นต้น วิธีฝึกการนำเสนอ คือ การฝึกตามหลักการของ
การนำเสนอในรูปแบบต่าง
ๆ ดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ จนสามารถนำเสนอได้ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาปัญญา
4. ทักษะการฟัง คือ การจับประเด็นสำคัญของผู้พูด สามารถตั้งคำถามเรื่องที่ฟังได้
รู้
จุดประสงค์ในการฟัง
แสวงหาความรู้จะต้องค้นหาเรื่องสำคัญในการฟังให้ได้ วิธีฝึกการฟัง คือ การทำ
เค้าโครงเรื่องที่ฟัง
จดบันทึกความคิดหลัก หรือถ้อยคำสำคัญลงในกระดาษบันทึกที่เตรียมไว้ อาจตั้ง
คำถามในใจเช่น
ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร เพราะเหตุใด อย่างไร เพราะจะทำให้การฟัง มีความหมาย
และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ทักษะการถาม คือ การถามเรื่องสำคัญ ๆ การตั้งคำถามสั้น ๆ เพื่อนำคำตอบมา เชื่อมต่อให้
สัมพันธ์กับสิ่งที่เรารู้แล้วมาเป็นหลักฐานสำหรับประเด็นที่กล่าวถึง
สิ่งที่ทำให้เราฟัง ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ คือ
การถามเกี่ยวกับตัวเราเอง การฝึกถาม-ตอบ เป็นการฝึกการใช้เหตุผลวิเคราะห์
สังเคราะห์ ทำให้เข้าใจในเรื่องนั้น
ๆ อย่างชัดเจน ถ้าเราฟังโดยไม่ถาม-ตอบ ก็จะเข้าใจ ในเรื่องนั้น
ๆ
ไม่ชัดเจน
6. ทักษะการตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม คือ การตั้งสมมติฐาน และตั้งคำถาม สิ่งที่เรียนรู้ไป
แล้วได้ว่า คืออะไร
มีประโยชน์อย่างไร ทำอย่างไรจึงจะสำเร็จได้ การฝึกตั้งคำถาม ที่มีคุณค่าและมี
ความสำคัญ ทำให้อยากได้คำตอบ
7. ทักษะการค้นหาคำตอบจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น จากหนังสือ อินเทอร์เน็ต
คุยกับ
ผู้สูงอายุ แล้วแต่ธรรมชาติของคำถาม
การค้นหาคำตอบต่อคำถามที่สำคัญจะสนุก และทำให้ได้ความรู้
มาก บางคำถามหาคำตอบทุกวิถีทางแล้วไม่พบ
ต้องหาคำตอบต่อไปด้วยการวิจัย
8. ทักษะการทำวิจัยสร้างความรู้ การวิจัยเพื่อหาคำตอบเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการเรียนรู้
ทุกระดับ การวิจัยจะทำให้ค้นพบความรู้ใหม่
ทำให้เกิดความภูมิใจ สนุก และมีประโยชน์มาก
9. ทักษะการเชื่อมโยงบูรณาการ คือ การเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนรู้มาให้เห็นภาพรวม
ทั้งหมด มองเห็นความงดงาม
มองให้เห็นตัวเอง ไม่ควรให้ความรู้นั้นแยกออกเป็นส่วน ๆ
10. ทักษะการเขียนเรียบเรียง คือ การเรียบเรียงความคิดให้ประณีตขึ้น โดยการค้นคว้า
หาหลักฐานอ้างอิงความรู้ให้ถี่ถ้วน
แม่นยำขึ้น การเรียบเรียงทางวิชาการจึงเป็นการพัฒนาปัญญาอย่าง
สำคัญ และเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้อื่นในวงกว้างออกไป
กล่าวโดยสรุป การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจะเกิดขึ้นได้
ผู้แสวงหาความรู้จะต้องฝึกฝนทักษะ
ในการสังเกต การบันทึก
การนำเสนอ การฟัง การถาม การตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม การค้นหาคำตอบ
จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ
การทำวิจัยสร้างความรู้ การเชื่อมโยงบูรณาการ และการเขียนเรียบเรียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น